วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หาก เอ่ยชื่อ พระครูวิมลคุณากร คน ทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้ว ล่ะก้อ ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จัก โดย เฉพาะนักนิยมพระเครื่องแล้ว แทบทุกคน ต่างใฝ่หาพระเครื่องของหลวงปู่ศุข มาใช้เพราะเชื่อกันว่า พระหลวงปู่ศุขนั้นให้พุทธคุณ ทั้งด้านเมตตามหานิยม และ ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน

 

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระวัดพลับ - พิมพ์ 2 หน้า

พระวัดพลับ พิมพ์ 2 หน้า เท่าที่ข้าพเจ้าพบเห็นมา 2 องค์ เป็นของข้าพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นของคุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ อีกองค์หนึ่ง แบบพิมพ์ด้านหนึ่งเป็น พิมพ์พุงป่องเล็ก อีกด้านหนึ่งเป็น พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก นอกเหนือจากนี้ยอมรับว่ายังไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้น พระวัดพลับ พิมพ์ 2 หน้า จึงสันนิษฐานได้เลยว่าสร้างไว้จำนวนน้อยมาก น้อยกว่าพิมพ์ปิดตา และน้อยกว่าพิมพ์ยืนถือดอกบัวหรือพิมพ์นอนด้วย

การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ 2 หน้ากันครับ

พระวัดพลับ - พิมพ์ปิดตา

พระปิดตาพระภควัมบดี และพระภควัมบดี ก็คือ พระสังกัจจายน์ และพระสังกัจจายน์ ก็คือ พระมหากัจจายน์เถระองค์เดียว เป็นพระสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธองค์ พระปิดตา ถือกันว่า เป็นพระทางให้โชคลาภ และด้านเมตตามหานิยม จะเป็นเนื้อประเภทใดก็ตาม เรื่องนี้เป็นความเชื่อของบุคคลบางคน โดยยึดถือประวัติความเป็นมาของพระมหากัจจายน์เถระเป็นหลัก




การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ปิดตากันครับ


พระวัดพลับ ดีอย่างไร ?

พระสมเด็จวัดพลับดีอย่างไร? คำว่าดีอย่างไรในที่นี้ ข้าพเจ้าตีความหมายตามความคิดเห็นของตัวเองเป็น 2 อย่าง  

ประการแรก หมายถึง "ดีภายนอก" ได้แก่ศิลปะของ องค์พระ รูปร่าง และขนาด ส่วนผสมของเนื้อหา เรียกว่า สัมผัสดูได้ด้วยตา รายละเอียดประเดี๋ยวเรามาคุยกันดู  
ประการสอง หรือต่อมา หมายถึง "ดีภายใน" อันนี้สำคัญมากหัวใจของเรื่องอยู่ตรงนี้ พูดสั้นๆก็คือ "คุณภาพของพระเครื่องนั่นเอง" ซึ่งแน่นอนจะต้องพาดพิงเกี่ยวโยงไปถึงผู้ผลิต พระอาจารย์สุก ผู้ปลุกเสกว่า "ท่านขลังขนาดไหน" ตอนแรกนี้ขอกล่าวใน ประเด็นที่ 1 ก่อน



พระวัดพลับ (เรื่องของเนื้อพระ)

จากหนังสือพระพิมพ์เครื่องรางเรียบเรียงโดย ร.อ.หลวงบรรณยุทธ ชำนาญ (สวัสดิ์ นาคะสิริ) ปรมาจารย์พระเครื่องในอดีต กล่าวถึงเรื่องพระวัดพลับไว้ว่า…

"พระวัดพลับอยู่ในกรุวัดพลับ ทำด้วยผงสีขาวผสมปูนเนื้อแข็งขาว ท่าพระนั่งขัดสมาธิ มีทั้งใหญ่ และเล็กประมาณเท่าเบี้ยจั่น กับทำพระนอนและปิดตาก็มี แต่หาได้น้อย ที่ทำเป็น 2 หน้าก็มี แต่หายากมีน้อย และพบทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็ก ..."

จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นที่คนรุ่นก่อนเขียนเป็นหลักฐานบอกไว้เป็นความจริง ทุกอย่าง คือ พระวัดพลับ มีทั้งชนิดเนื้อผงสีขาว กับเนื้อชินตะกั่ว ชนิดเนื้อผงขาวพบบ่อย แต่ชนิดเนื้อชินตะกั่วพบน้อย หายากมาก เจอแต่เก๊ทั้งนั้น ของจริงมีน้อย เคยพบเห็นมาเพียงไม่กี่องค์ ขาดความนิยมไปอย่างน่าเสียดาย เรียกว่าราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากคนยังไม่รู้จัก และไม่นิยม แต่นิยมกันเฉพาะเนื้อผงสีขาวเท่านั้น

พระวัดพลับ - พิมพ์สมาธิเข่ากว้างใหญ่ และเล็ก

พระพิมพ์นี้ดูภาพแล้วจะเห็นว่าตรงตามชื่อที่เขา ตั้งไว้ตรงเป๋ง คือองค์พระเข่ากว้างมาก พระพิมพ์นี้มีศิลปะไปอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนใคร คือองค์พระมีขนาดเล็ก แลดูตื้นกว่าพิมพ์สมาธิเล็ก แขนท่อนบนเล็ก แขนท่อนล่างใหญ่ วางแขนหักเป็น 3 ท่อน เค้าหน้าแตกต่างกัน พิมพ์สมาธิเล็ก-สมาธิใหญ่ โปรดพิจารณาดูภาพประกอบเปรียบเทียบไปด้วย จะเห็นข้อแตกต่าง นอกจากนี้การวางขาและเข่าแลดูแบน ราบขายาว จึงได้รับขนานนามว่า"เข่ากว้าง"


 การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์สมาธิเข่ากว้าง ใหญ่ กับเล็ก กันครับ

พระวัดพลับ - พิมพ์สมาธิเล็ก

เมื่อมีพิมพ์สมาธิใหญ่แล้วก็มีพิมพ์สมาธิเล็ก  ลักษณะการนั่งของพระพิมพ์นี้ เหมือนพิมพ์สมาธิใหญ่ เพียงแต่ว่าขนาดต่างกันเป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ เค้าพระพักตร์รูปร่างคล้ายผลมะตูมเส้นใบหูยาว แนบชิดติดพักตร์ลงมาทั้ง 2 ข้าง พระเพลา (ขา และเข่า) วางแบนราบแลดูกว้าง การวางแขน และประสานมือเป็นวงโค้ง เส้นแขน และเส้นมือมีขนาดไล่เลี่ยกัน




การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็กกันครับ

พระวัดพลับ - พิมพ์สมาธิใหญ่

คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับที่พระพิมพ์นี้เรียก กันว่า "พิมพ์สมาธิใหญ่" เพราะพระวัดพลับ นอกจากพิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือนอน และพิมพ์ปิดตา แล้วพิมพ์นั่งแบบธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ล้วนแต่เป็นพระปางสมาธิทั้งสิ้น ไม่มีพิมพ์ปางมารวิชัยเลย การที่ตั้งชื่อเรียกพิมพ์สมาธิใหญ่ เพราะพิมพ์อื่นๆ ตั้งชื่อกันไปหมดแล้ว เหลือแบบนี้อยู่ 2 พิมพ์เลยตั้งชื่อเป็นพิมพ์สมาธิใหญ่ และพิมพ์สมาธิเล็ก




การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์สมาธิใหญ่กันครับ

 

พระวัดพลับ - พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก

สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกว่า "พิมพ์ตุ๊กตา" บอกไปแล้วในพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่ทว่าพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แลดูลีลาเส้นลายมีลักษณะแข็งกร้าวกว่าพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก

ลองนำภาพมาเปรียบเทียบกันดูก็ได้ คือลักษณะกอดรัดตัวยืดอกขึงขังกว่า

 
 
  
การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาเล็กกันครับ


 

พระวัดพลับ - พิมพ์พุงป่องเล็ก

สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกพิมพ์ "พุงป่อง" คงรู้กันแล้วนะครับ ลักษณะโดยทั่วไปของพระพิมพ์นี้มีลีลาของเส้นสายต่างๆ คล้ายพิมพ์พุงป่องใหญ่ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย
ประเดี๋ยวจะชี้จุดให้ดู ...
  
 
การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ)  
วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ป่องเล็กกันครับ
  
 

พระวัดพลับ - พิมพ์พุงป่องใหญ่

สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกว่า "พุงป่อง" พระพิมพ์นี้ต้องมีที่หมายเด่นเห็นจำง่าย คือ อกใหญ่-พุงโต ดูภาพแล้วคล้ายกับประคองอุ้มไว้ พบเห็นกัน 2 ขนาด คือ
ขนาดใหญ่ ตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่องใหญ่"
ขนาดเล็ก ตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่อง เล็ก"

การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) 
วันนี้จะมาดูพระวัดพลับ "พิมพ์พุงป่องใหญ่" กันครับ
 
 
 
 

 

พระวัดพลับ - พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่

ทำไมจึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่" ถ้าได้ดูภาพแล้วคงจะเห็นด้วยกับคนตั้งชื่อพระ เพราะว่าพุทธลักษณะองค์พระคล้ายกับตุ๊กตาเด็กเล่น การนั่งขององค์พระแลดูเข้มแข็ง มีสง่าอยู่ในที การวางแขนหักศอก และประสานมือดูแข็งกร้าว องค์พระอ้วนใหญ่ บึกบักดีแท้ ปราศจากลวดลายประกอบ โชว์พุทธลักษณะองค์พระอย่างเดียว

การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ)  
วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่กันครับ




  
  

พระวัดพลับ - พิมพ์วันทาสีมา

หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือนอนถือดอกบัว นั้นเอง

เป็นความจริงที่ทราบกันแล้ว พระกรุโบราณตอนสร้างพระ ผู้สร้างมิได้ตั้งชื่อแบบพิมพ์เอาไว้เลย คนรุ่นหลังต่อมาที่พบพระเป็นผู้จัดการตั้งชื่อให้ท่านทั้งสิ้น เพื่อสะดวกต่อการเรียกขานชื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งกัน และกันเพราะถ้าไม่มี ชื่อเรียกต้องยุ่งสับสนแน่ๆ การตั้งชื่อแบบพิมพ์พระนั้น บางครั้งก็ดูตามพุทธลักษณะลีลา จุดที่หมายเด่นเห็นจำง่ายในแบบพิมพ์ก่อน และบางครั้งก็ดูตามรูปพรรณสัณฐานว่าเหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งใด หรือดูขนาด ฯลฯ เป็นต้น

ต่อไปนี้จะเป็นการแยกพิมพ์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป...


พระวัดพลับ (พระกรุ)

พระกรุวัดพลับองค์ที่อยู่ในรูปนี้ ข้าพเจ้าได้มาจากน้องชายคนหนึ่ง ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าคือพระอะไร จนพบผู้รู้ท่านก็บอกว่าเป็นพระกรุ วัดพลับ แต่จริงแท้แน่นอนแค่ไหนก็มิทราบได้ ใครพอทราบก็ช่วยบอกเพื่อเป็นความรู้หน่อยน่ะครับ

ผมได้รวบรวมเรื่องราว และลิงค์ ของพระกรุวัดพลับ ทั้งพิมพ์พระกรุนี้ และข้อมูลเรื่องเล่าต่างๆ

พระวัดพลับ แตกกรุราว พ.ศ.๒๔๖๕ เนื่องจากมีผู้พบเห็นกระรอกเผือกตัวหนึ่งวิ่งอยู่ในบริเวณวัด แล้ววิ่งเข้าไปในโพรงแคบของเจดีย์ข้างอุโบสถ ด้วยความอยากได้กระรอกเผือก ผู้พบจึงได้ใช้ไม่กระทุ้งเข้าไปในโพรง แต่เมื่อชักไม้ออกมาปรากฏว่า มีพระผงสีขาวขนาดเล็กพิมพ์ต่างๆ ไหลทะลักออกมาเพราะผนังเจดีย์ที่โบกไว้แตกออกเป็นช่อง ด้วยแรงกระทุ้งของไม้ พระที่พบได้ถูกลำเลียงออกมาแจกจ่ายและให้เช่ากัน นักนิยมพระเครื่องรุ่นก่อนจึงเรียกว่า “พระกรุกระรอกเผือก” เมื่อสังฆวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) วัดพลับ ทราบเรื่อง จึงได้ให้พระเณรช่วยกัน รวบรวมพระที่เหลือในกรุทั้งหมดขึ้นมาเก็บไว้ในกุฏิ