วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระวัดพลับ - พิมพ์วันทาสีมา

หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือนอนถือดอกบัว นั้นเอง

เป็นความจริงที่ทราบกันแล้ว พระกรุโบราณตอนสร้างพระ ผู้สร้างมิได้ตั้งชื่อแบบพิมพ์เอาไว้เลย คนรุ่นหลังต่อมาที่พบพระเป็นผู้จัดการตั้งชื่อให้ท่านทั้งสิ้น เพื่อสะดวกต่อการเรียกขานชื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งกัน และกันเพราะถ้าไม่มี ชื่อเรียกต้องยุ่งสับสนแน่ๆ การตั้งชื่อแบบพิมพ์พระนั้น บางครั้งก็ดูตามพุทธลักษณะลีลา จุดที่หมายเด่นเห็นจำง่ายในแบบพิมพ์ก่อน และบางครั้งก็ดูตามรูปพรรณสัณฐานว่าเหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งใด หรือดูขนาด ฯลฯ เป็นต้น

ต่อไปนี้จะเป็นการแยกพิมพ์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป...


พิมพ์ยืนถือดอกบัว-วันทาสีมา (หรือนอนถือดอกบัว)

พระพิมพ์นี้ดูภาพแล้วแปลกตาดีแท้ๆ จะดูเป็นพิมพ์ยืนถือดอกบัวก็ได้ หรือจะดูเป็นพิมพ์นอนถือดอกบัวก็ยังไหว สอบถามมาหลายคนแล้ว เขย่าไม่ลงตัวสักที คือ มองได้ 2 แง่ 2 นัย

มีผู้กล่าวว่า พระวัดพลับพิมพ์ยืนถือดอกบัวนี้ เป็นรูปพระมหากัสสัปเถระ ตั้งสัตยาธิษฐานรำพิงถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า หน้าหีบพระศพพระพุทธเจ้า ณ มกุฎพันธเจดีย์ แต่บางท่านบอกว่า พิมพ์นี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ถึง พระราชอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่ทรงพระมาลาถือดอกบัว ทรงวันทาสีมาก่อนเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ

และก็มีบางท่านบอกว่า น่าจะเป็นรูปพระนอน เพราะสังเกตที่พระเศียรคล้ายมีหมอนรองรับคือ มีหมอนหนุนศีรษะ สิ่งที่สะดุดตามากที่สุด ทำไมต้องถือดอกบัวด้วย? เพราะถ้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้วไม่ต้องไหว้คารวะใคร และก่อนจะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ก็คงไม่มีใครเอาดอกบัว หรือดอกไม้ไปใส่มือท่านให้ใจรำลึกถึงพระพุทธเจ้าอีก เนื่องจากตัวท่านเป็นพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว แง่นี้น่าคิด…

สรุปแล้วภาพพระพิมพ์นี้เป็นปริศนามองกันไปได้หลายแง่มุม แล้วแต่จะเห็นจะคิดเอา… แต่ถ้าบอกว่าไม่รู้จะง่ายกว่าใช่ไหม?

แล้วทำไมพระพิมพ์นี้จึงเป็นที่นิยม ชื่นชอบกันจัง? ราคาก็แพงกว่าพิมพ์อื่นๆในกรุเดียวกัน ถ้าจะให้ตอบก็พวกเรานี่แหละตัวดี ไปแยกแยะ และยกย่องกำหนดราคา ให้ท่าน บอกว่าพระพิมพ์นี้เขาสร้างไว้จำนวนน้อยนะ ควรจะมีราคาแพงกว่าแบบ ธรรมดาทั่วไป ที่เขาสร้างไว้แยะ เรื่องคงจะมีเท่านี้ ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นมีเท่ากันทุกอย่าง เพราะเป็นเนื้อผงสูตรเดียวกัน หรืออาจจะเป็นครกเดียวกันก็ได้ ปลุกเสกในพิธีเดียวกัน นอนอยู่ในกรุด้วยกัน เปิดกรุพร้อมกัน แต่ราคาไม่เท่ากันซะแล้ว เพราะมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น

ขนาดองค์พระ ส่วนกว้างประมาณ 1.8 ซม. ส่วนสูงประมาณ 3.5 ซม. หลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มี

ที่มาเนื้อหา และรูปภาพ : www.soonphra.com


พระสมเด็จวัดพลับก็ เช่นเดียวกัน มีกี่แบบพิมพ์ไม่ทราบได้ ไม่มีการจดบันทึกหลักฐานกันเอาไว้เลย เพราะเป็นของเก่าโบร่ำโบราณเกิน 100 ปี ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป ในเวลานี้มีอยู่ 12 พิมพ์ มีรายชื่อว่าอะไรบ้าง ประเดี๋ยวรู้ นอกเหนือจากนี้อาจจะมีอีก แต่ยังไม่มีใครพบเห็น ที่พบๆ แต่ของปลอม รายชื่อที่เรียกเป็นสากล มีดังนี้
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น