วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หาก เอ่ยชื่อ พระครูวิมลคุณากร คน ทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้ว ล่ะก้อ ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จัก โดย เฉพาะนักนิยมพระเครื่องแล้ว แทบทุกคน ต่างใฝ่หาพระเครื่องของหลวงปู่ศุข มาใช้เพราะเชื่อกันว่า พระหลวงปู่ศุขนั้นให้พุทธคุณ ทั้งด้านเมตตามหานิยม และ ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน

 



ภูมิลำเนา - ชีวิตก่อนบวช หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงปู่ศุข ท่านอยู่ในละแวก วัดมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันยังมี  ลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี  หลวงปู่ศุข ท่านใช้นามสกุล เกศเวชสุริยา อีกสกุลหนึ่ง ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน ด้วยกัน    เมื่อหลวง ปู่ศุข อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่าน ได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ทำมาหากิน ค้าขายเล็กๆน้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่ง มีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต 

เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำ  ที่สำคัญ และกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้  เพราะ ขาดการทนุบำรุงที่ควร     หลวงปู่ศุข ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้ภรรยาชื่อนางสมบูรณ์ และกำเนิดบุตร ชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

การบวช หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า 

หลวง ปู่ศุข ท่านครองเพศฆาราวาสอ ยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ 22 ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน หรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี   พระอุปฌาย์ท่านชื่อ  หลวง พ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัด โพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ฝ่ายรามัญ ที่ ถือเคร่งในวัตรปฎิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความรู้และความ ชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคม   ก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ศุข ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปฌาย์ของท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

ผีสมภารวัดร้าง 

"ผีสมภารวัดร้าง" ซึ่งนายยอด สุขทอง ลูกศิษย์คนหนึ่งของท่านรับฟังมาและนำมาเล่าต่อ ดังมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งนั้นหลวง ปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จาริกธุดงค์ ไปนมัสการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี เมื่อท่านได้ถวายอภิวาทต่อรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความปิติอิ่มใจแล้วจึงได้เดินธุดงค์กลับวัดปากคลองมะขามเฒ่าของท่าน ระหว่างเดินทางกลับท่านได้จากริมาพบวัดร้างแห่งหนึ่งในเวลาเย็นย่ำสนธยา ซึ่งถึงกาลอันสมควรหาสถานที่เหมาะสมเพื่อปักกลด หลวงปู่ศุข พิจารณาวัดร้างแห่งนี้เห็นว่าพอจะอาศัย เป็น สถานที่พักผ่อนในราตรีกาลที่จะมาถึงได้ ท่านจึงแบกกลดเข้าไปในเขตธรณีสงฆ์แห่งนั้น

บริเวณทั่วไปของวัดร้างสงัดเงียบ มีโบสถ์ ศาลาการเปรียญและกุฎิ พระครบสมบูรณ์ เพียงแต่ปราศจากพระเณรจำพรรษาคอยดูและรักษาทำนุบำรุง เสนาสนะต่างๆ ดังนั้นศาสนสถานโดยทั่วไปจึงชำรุดทรุดโทรมผุพังเป็นที่น่าสังเวช หลวงปู่ศุขรู้สึกแปลกใจระคนสงสัยทีวัดนี้ ไม่ควรจะปล่อยร้างวังเวงดังที่เห็น เพราะสังเกตดูที่ตั้งขอวัดก็อยู่ในพื้นภูมิทำเลที่เหมาะสม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านชุมชนเท่าไหรนัก เหตุใดจึงขาดผู้มีจิตกุศลศรัทธาอุปัฎฐากพระเณรถึงเพียงนี้ หลวงปู่เพียงแค่สงสัย แต่ไม่คิดใฝ่ใจใคร่รู้สาเหตุที่มาของวัดร้าง ท่านจึงมองหาที่พักสำหรับคืนนี้ เห็นบริเวณระเบียงด้านหน้ากุฎิหลังใหญ่ดูกว้างขวาง และเปิดโล่งโปร่งสบายก็ตรงไปยังที่น้น วางอัฐบริขารลง แล้วไปเก็บแขนงไม้มารวมกันปัดกวาดพื้นให้สะอาดพอปูอาสนะได้
ขณะที่หลวง ปู่ศุข กำลังปัดกวาดอยู่นั้น มีชาวบ้านเป็นชาย 2 - 3 คน เดินมาหาท่านแล้วนังยกมือไหว้นมัสการ คนที่มีอาวุโสที่สุดถามขึ้นว่า "หลวงพ่อมาจากไหนขอรับ" พวกกระผมเห็นหลวงพ่อเดินลัดตัดทุ่งตรงมาที่นี่ จึงรีบมาพบ" "อาตมาไปนมัสการพระพุทบาทสระบุรีมา
กำลังจะกลับวัด ปากคลองมะขามเฒ่า คืนนี้คงต้องพักที่วัดนี้ชั่วคราว พวกโยมเป็นคนบ้านนี้กระมัง""ใช่ขอรับ กระผมเองอยูเลยหลังวัดนี้ไปไม่เท่าไหร่ เอ้อ หลวงพ่อขอรับ ท่านพักอยู่ตรงระเบียงหน้ากุฎินี้เห็นทีจะไม่เหมาะสมกระมังครับ" "ทำไมหล่ะโยม อาตมาเห็นว่าเป็นวัดร้างไม่มีใครดูแลเป็นเจ้าของจึงไม่ได้ขออนุญาตใคร"
" ไม่ใช่เรื่องขออนุญาต หรือไม่ขออนุญาตหรอกขอรับ แต่พวกกระผมเป็นห่วงหลวงพ่อ กลัวว่าหลวงพ่อจะเจอเรื่องไม่ดีไม่งามเข้าตอนกลางค่ำกลางคืน " "เรื่องไม่ดีไม่งามที่โยมว่านั่นน่ะ มันเรื่องอะไร" ชายสูงวัยทำท่าอึกอักก่อนจะตัดสินใจไปกราบเรียน "ผีที่นี่เฮี้ยนเหลือกำลังขอรับหลวงพ่อสาเหตุที่วัดนี้กลายเป็นวัดร้าง ก็เพราะผีดุนี่แหละครับ กระผมเองเคยเป็นมัคทายกวัดนี้รู้เรื่องดีเชียวละ"แล้วอดีตมัคทายกก็เล่า เรื่องผีวัดร้างให้ปลวงปู่ศุข ฟังว่า เมื่อก่อนวัดนี้มีพระเณรจำพรรษาไม่เคยขาด ชาวบ้านร้านตลาดมาทำบุญทำทานกันตลอดเวลา
ต่อมาสมภารเจ้าวัดมรณภาพ ยังไม่ทันจะหาสมภารรูปใหม่มาปกครองดูแลวัด ผีสมภารเปิดฉากออกอาละวาดหลอกหลอนแทบทุกคืนจนพระเณรอกสั่นขวัญหาย แม้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญแผ่กุศลสักเท่าไหร่ ผีสมภารก็ไม่ยอมไปผุดไปเกิด ยังคงหลอกหลอนเหมือนเดิม กระทั่งพระเณรทนไม่ไหวพากันหนีหายย้ายไปอยู่วัดอื่นหมด เคยมีพระใหม่ใจกล้ารับอาสาจะมาช่วยบูรณะวัดฟื้นฟู วัด แต่อยู่ได้ไม่กี่วันก็หอบอัฐบริขารจากไป เพราะผีสมภารเล่นงานหลวงปู่ศุขรับฟังอดีตมัคทายกวัดเล่าเรื่อผีสมภารโดยสงบ มิได้แสดงความคิดเป็นแต่ประการใด เมื่อมัคทายกกราบเรียนแนะนำให้ท่านย้ายที่ปักกลดไปอยู่นอกเขตวัดจะดีกว่า ท่านก็เฉยเสีย บอกแต่เพียงว่าคงไม่เป็นไร เพราะท่านมาอาศัยคืนเดียวแล้วก็ไป ผีสมภารคงไม่ทำอะไร
เมื่อหลวงปู่ยืนยันเช่นนี้ ชาวบ้านก็จำต้องนมัสการกราบลากลับไป ทั้งที่ห่วงใยท่านจะทานวิญญาณร้ายของสมภารเจ้าวัดที่ตายไปไม่ไหว หลวงปู่กางกลด จัดวางบริขารและปูอาสนะเรียบร้อย เมื่อความมืดของราตรีมาเยือน วัดก็ยิ่งวังเวงหนักขึ้น หลวงปู่ไหว้พระสวดมนต์ทำวัตรเย็นตามกิจของท่านแล้วเข้ากลด เจริญสมาธิภาวนาเช่นที่เคยปฎิบัติมา โดยไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ตราบกระทั่งดึกสงัด ก็ปรากฎเสียงบานหน้าต่างของกุฎิหลังใหญ่กระแทกเปิดปิดดังสนั่น ทั้งๆ ที่ประตูหน้าต่างใส่ดาลลั่นกลอนปิดสนิท จะเป็นเพราะลมก็ไม่ใช่เพราะเวลานั้นลมสงบเงียบเชียบ หลวง ปู่ศุข กำลังพักผ่อนต้องลุกขึ้นมานั่ง คอยดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปอีก
ท่านก็ไม่ต้องคอยนาน เมื่อตรงหน้ากลดนั้นร่างดำมึนดูทะมึนของสมภารวัดได้ผุดวูบขึ้นมา ให้เห็นถนัดชัดเจน พร้อมกับพูดขึ้นด้วยเสียงแหบห้าวดุจไม่พอใจ " มาทำไม?" "ผมไปรุกขมูลมา จะขออาศัยนอนที่นี่สักคืน" หลวงปู่ศุข ตอบผีสมภารนิ่งแล้วหายวับ คราวนี้เกิดเสียงดังโครมครามสนั่นหวั่นไหว ภายในกุฎิไม่ยอมหยุด  ประหนึ่ง ต้องการขับไล่หลวงปู่ศุข ทว่าหลวงปู่มิได้หวั่นไหวต่อการแสดงฤทธิ์ของผีสมภาร ยิ่ง ไปกว่านั้น ท่านยังรู้สึกสงสารเวทนาต่อดวงวิญญาณมิจฉาทิฐิ ที่หลงวนเวียนยึดเหนี่ยวในสถานที่นี้ไม่ยอมไปผุดไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่า ทั้งๆที่บวชเรียนในพระพุทธศาสนามานานถึงขึ้นเป็นสมภารเจ้าวัด หลวง ปู่ศุข สำรวมจิตแผ่เมตตาไปให้ แต่เสียงสนั่นหวั่นไหวภายในกุฎิ ก็ไม่ยอมหยุด สวดมนต์อีกหลายบท ผีสมภารก็ยังไม่รับรู้ มิหนำซ้ำ ผีสมภารยังมาปรากฎร่างยืนตระหว่างตรงหน้ากลด แผดเสียงหัวเราะเย้ยหยันแล้วคำรามลั่นบอกว่า "ไม่กลัวหรอก มีคาถาอะไรก็ว่ามาอีกซิ"
หลวงปู่ศุข เห็นผีสมภารดื้อด้านถึงเพียงนี้ ท่านจึงกล่าวออกมาดังๆว่า "อนิจจาเอ๋ยไม่เคยเห็น ผีตายหรือจะสู้กับผีเป็น นะโมพุทธายะ" ด้วย ถ้อยคำประโยคนี้ ผีสมภารก็หายวับไป ไม่มีเสียงโครมครามใดๆ ตามมาอีก และหลวงปู่ศุขก็ไม่ใส่ใจสนใจอีกต่อไป เอนกายลงพักผ่อนตามปกติของท่าน
เช้าวันรุ่งขึ้นอดีตมัคทายกและชาวบ้านกลุ่มใหญ่รีบมาที่วัดแต่เช้า เห็นหลวงปู่ศุขเป็นปกติดีไม่มีอะไร ต่างปีตีดีใจเข้ามากราบไหวันมัสการสอบถาม ว่าเมื่อคืนมีเหตุการณ์ร้ายๆอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หลวงปู่ไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มๆ ทำนองมิให้ซักไซร้ให้มากความ ชาวบ้านจึงไม่กล้าละลาบละล้วงถามอีก จากนั้นก็กลับไปจัดหาภัตราหารเช้ามาถวาย
เมื่อท่านกระทำภัตกิจเรียบร้อย ชาวบ้านนิมนต์ให้ท่านพักอยู่ที่นี่ก่อน เพื่อพวกเขาจะได้มีโอกาสทำบุญสร้างกุศลกันบ้าง หลวงปู่ศุข ก็เมตตารับนิมนต์ หลวง ปู่พำนักอยู่ที่กุฎิร้างของสมภารเก่า ๕ คืน ไม่กรากฎมีผีสมภารออกอาละวาดอีกเลย ท่านเห็นว่าสมควรแก่ เวลาแล้วจึงเก็บอัฐบริขารเพื่อเดินทางต่อไปชาวบ้านอ้อนวอนให้ท่านเป็นสมภาร วัดร้างแห่งนี้ แต่หลวงปู่ไม่อาจรับศรัทธาญาติโยมข้อนี้ได้

กลับภูมิลำเนา

หลวงปู่ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี  จน กระทั่งมารดาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าได้ชราภาพลงตามอายุขัย ด้วยความเป็นห่วงใยในมารดาและบิดา ท่านจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และ ได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆที่วัดอู่ทองคลองมะขามเฒ่า ซึ่ง เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่อยู่ลึก เข้า ไปในคลองมะขามเฒ่าหรือบริเวณต้นแม่น้าท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพวัดในขณะนั้น ชำรุดทรุดโทรม ลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณะให้กลับคืนในสภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้    ขยับ ขยายออกมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฎิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัย ไปพลางก่อน

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 
อาจจะเป็นด้วยบุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี  ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับ ราชสกุลวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 28 และ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ ที่1 ใน เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้ เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ  จึงเป็นเหตุ ให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน  จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์-อาจารย์เพื่อจะได้ศึกษา ทางมหาพุทธาคมและปรากฎว่า พระองค์เป็น ศิษย์ที่มีความรู้ความ  สามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงปู่ศุขเองก็หมดความรู้ที่จะถ่ายทอด จึงแนะนำให้เสด็จในกรมฯไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อ เงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดัง เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้น    เมื่อหลวงปู่ศุขท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึง เป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่จะสร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยาน ในปัจจุบันนี้คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จใน กรมฯบนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพ เขียนสีน้ำที่กรมศิลปากรยกย่องว่า เสด็จ ในกรมหลวงชุมพร ทรงมีฝีมือทางการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธ-เจ้าชนะมารในกระแสน้ำที่ พระแม่ธรณีบิดมวยผม ทำให้เกิดอุทกธารา หลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น
....

วัตถุมงคลรุ่นแรก 
สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดฌาปนกิจศพ และในงานนี้เองหลวงปู่ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึก เป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระ เครื่องจากท่านไปได้ปรากฎอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดย เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกัดไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างใน ชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็น ส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้ เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้น การที่แวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระเครื่องของหลวงปู่จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกัดไม่ เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน  จึงเกิดความนิยม ไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ  

สมัยก่อน พระวัดปากคลองเนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า "เอ็งมีลูกกี่คน?" ท่านจะให้ครบทุกคน กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่ง ดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทาง คมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจน การทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำ เจ้า พระยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพราะใน สมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอ ตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าพ่อขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัด ของท่าน  เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วย ป้องกันขโมยขโจร     ที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้า จะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็น  เสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศชื่อเสียง ของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี"หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า"

พระเครื่อง-เครื่อง รางของขลัง 
การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิ์ มี ฤทธิ์ มีเดช ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์พื้นๆนั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น กล้า แกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว 

สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือและการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกดิผลด้วยการ ใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือ หลีกลี้ลับ บังคบให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็น ตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจนการผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็ยังคงเป็นใบมะขาม หัว ปลี ก็ คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟาง ก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่อำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง จากหนังสือ "พระกฐินพระราชทาน สมาคม ศิษย์อนงคาราม ปี 2519 เรื่องพระใบ มะขาม ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มี หน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ.2459)ได้ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เมื่อข้าพเจ้าไป อุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว  มีชาวบ้านชาววัด มาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุด พิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่น เงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง ข้าพเจ้าถามว่า การค้าขายจะให้ลงว่า กระไร ท่านบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู "  ข้าพเจ้าจึงบอกว่า "หลวง พ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลง ไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร " หลวงพ่อบอกว่า " มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะ คุณมหา" ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะ ระหว่างนั้นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม และ ท่านเสกเป่าไปที่ศรีษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมทีไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุก ก็ ลุก ซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์ จริงๆ ข้าพเจ้า คิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฐาก รูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า "ท่านสำเร็จสมถะภาวนา แน่ๆ"
อนึ่งท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี  ไม่ใคร่พูดจานั่งสงบอารมณ์ เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้า ถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น " เขา ว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯเห็นจนท่านยอมเป็นศิษย์ " หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ลวงโลก แล้วท่าน ก็นิ่งไม่ตอบว่า อะไรอีก หลวงพ่อพูดต่อไปว่า "เวลานี้ กรมหลวงชุมพรฯไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง ) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติ ท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้ "

ท้ายบท 
การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณะภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็น เรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง จากการสอบถามบรรดาลูกศิษย์ ลูกหาของท่าน ซึ่งส่วนมากจะล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดัง นั้นการที่ท่านได้รับรู้จากการเขียน ของ "ท่านมหา" ซึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากหลวงปู่ จึงใกล้ เคียงความจริงเท่าที่จะหาได้มากที่สุด

ขอบคุณบทความ และรูปภาพ
ที่มาของเนื้อหา http://www.itti-patihan.com/
รูปที่ 1 หลวงปู่ศุข หรือ พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=22807&view=unread
รูปที่ 2 วัตถุมงคล ของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จาก http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=1700
รูปที่ 3 ตระกุด ของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จาก http://www.krusiam.com/shop/nakronpra/product/detail.asp?ProductID=P0121023

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น