วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระวัดพลับ - พิมพ์พุงป่องใหญ่

สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกว่า "พุงป่อง" พระพิมพ์นี้ต้องมีที่หมายเด่นเห็นจำง่าย คือ อกใหญ่-พุงโต ดูภาพแล้วคล้ายกับประคองอุ้มไว้ พบเห็นกัน 2 ขนาด คือ
ขนาดใหญ่ ตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่องใหญ่"
ขนาดเล็ก ตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่อง เล็ก"

การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ) 
วันนี้จะมาดูพระวัดพลับ "พิมพ์พุงป่องใหญ่" กันครับ
 
 
 
 

 
พิมพ์พุงป่องใหญ่, วัดพลับ

ลักษณะองค์พระ เป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่านูนมากนูนน้อยไม่แน่นอน ถ้าดูลีลาเชิงศิลป์กันแล้ว จะเห็นว่า องค์พระเด่นไปอีกแบบหนึ่ง เค้าหน้าใหญ่ คางสอบแหลม อกและท้องนูนสูงมาก การวางแขนหักเป็น 3 ท่อน และเห็นได้ชัด การประสานมืออยู่ในแนวราบดูคล้ายๆกับอุ้มท้องไว้ ข้อมือคอดเล็ก ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1.5 ซม. ส่วนสูงประมาณ 2-2.2 ซม. มีปีกกว้างปีกแคบ


จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ ขอให้ดูภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว

พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่ เคยเห็นบล็อกเดียว ราคาเบากว่าพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ ความหายากพอกัน เพราะสร้างไว้จำนวนน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ นั่นเอง

ที่มา บทความ และรูปภาพ : www.soonphra.com

พระสมเด็จวัดพลับก็เช่นเดียวกัน มีกี่แบบพิมพ์ไม่ทราบได้ ไม่มีการจดบันทึกหลักฐานกันเอาไว้เลย เพราะเป็นของเก่าโบร่ำโบราณเกิน 100 ปี ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป ในเวลานี้มีอยู่ 12 พิมพ์ มีรายชื่อว่าอะไรบ้าง ประเดี๋ยวรู้ นอกเหนือจากนี้อาจจะมีอีก แต่ยังไม่มีใครพบเห็น ที่พบๆ แต่ของปลอม รายชื่อที่เรียกเป็นสากล มีดังนี้
  

1 ความคิดเห็น:

  1. ให้ความรุ้ดีมากๆครับขอบคุณพี่มากๆครับสุดยอดที่สุด

    ตอบลบ