วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระวัดพลับ - พิมพ์พุงป่องเล็ก

สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกพิมพ์ "พุงป่อง" คงรู้กันแล้วนะครับ ลักษณะโดยทั่วไปของพระพิมพ์นี้มีลีลาของเส้นสายต่างๆ คล้ายพิมพ์พุงป่องใหญ่ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย
ประเดี๋ยวจะชี้จุดให้ดู ...
  
 
การดูพิมพ์พระวัดพลับ (แยกพิมพ์พระกรุวัดพลับ)  
วันนี้จะมาดูพระวัดพลับพิมพ์ป่องเล็กกันครับ
  
 
พิมพ์พุงป่องเล็ก, วัดพลับ

ลักษณะขององค์พระ เป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ ขาขวาทับขาซ้าย เค้าหน้าแบบผลมะตูมยาน คางไม่แหลม มีเส้นลำคอยาว อกและท้องนูนสูง ต้นแขนเล็กลีบ การวางแขนหักเป็น 3 ท่อน การประสานมืออยู่ในแนวราบแบบเดียวกับพิมพ์พุงป่องใหญ่ แต่ข้อมือไม่คอด ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า

ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1 ซม. ส่วนสูงประมาณ 1.7-2.0 ซม. บางองค์ปีกกว้าง บางองค์ปีกแคบ

จุดสังเกตและตำหนิในการดูพระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้


ที่มา บทความ และรูปภาพ : www.soonphra.com

พระสมเด็จวัดพลับก็เช่นเดียวกัน มีกี่แบบพิมพ์ไม่ทราบได้ ไม่มีการจดบันทึกหลักฐานกันเอาไว้เลย เพราะเป็นของเก่าโบร่ำโบราณเกิน 100 ปี ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป ในเวลานี้มีอยู่ 12 พิมพ์ มีรายชื่อว่าอะไรบ้าง ประเดี๋ยวรู้ นอกเหนือจากนี้อาจจะมีอีก แต่ยังไม่มีใครพบเห็น ที่พบๆ แต่ของปลอม รายชื่อที่เรียกเป็นสากล มีดังนี้
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น